หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
1.ชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร : 25520031107965
ภาษาไทย : หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Nursing Science Program
2.ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม : พยาบาลศาสตรบัณฑิต
ชื่อย่อ : พย.บ.
ชื่อเต็ม : Bachelor of Nursing Science
ชื่อย่อ : B.N.S.
3.จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร : 124 หน่วยกิต
4.รูปแบบของหลักสูตร
1) รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี
2) ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ
3) ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย
4) การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาไทยได้ดี
5) ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี ที่จัดการเรียนการสอนโดตรง
6) การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาเดียว
5.สถานภาพของหลักสูตร
การอนุมัติหลักสูตร โดยสภาสถาบันพระบรมราชชนก
วันที่ 23 มิถุนายน 2565
ได้รับความเห็นชอบจากสภาการพยาบาล
วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2565
6.อาชีพที่สามารถประกอบอาชีพได้หลังสําเร็จการศึกษา
6.1 ประกอบวิชาชีพพยาบาลในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ (ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ)
6.2 ประกอบวิชาชีพพยาบาลประจำโรงเรียน/โรงงาน/สถานประกอบการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
6.3 ประกอบอาชพอิสระด้านการพยาบาลและการผดุงครรภ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือสาขาอื่นๆ
7.วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้
1. มีความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
2. ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คำนึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมาย และจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
4. มีทักษะการคิดขั้นสูงในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
5. มีความรู้เกี่ยวกับระเบียบวธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล และการผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ
6. มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพ
7. มีความสามารถในการบริหารจัดการ และบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน
8. มีทักษะการใช้ภาษาและมีความสามารถในการสอสารเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพ
9. รู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ในการเรียนรู้และการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์
10. มีทักษะชีวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคม
11. ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
12. เป็นพลเมืองที่ดี มีจิตสาธารณะ สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
13. มีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพ
8.ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Learning Outcomes: PLOs) ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนผู้เรียนสามารถ
1. ประยุกต์ความรู้ทางการพยาบาล การผดุงครรภ์และบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสุขภาพทุกช่วงวัย ในภาวะปกติและเจ็บป่วย
2. ปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์แบบองค์รวมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์โดยใช้กระบวนการพยาบาล บนหลักฐานเชิงประจักษ์ คํานึงถึงความปลอดภัย การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3. แสดงออกถึงพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ เจตคติที่ดีต่อวชาชีพและปกป้องสิทธิของผู้รับบริการ
4. แสดงออกถึงทักษะการคิดขั้นสูง ในการตัดสินใจแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์
5. ประยุกต์ความรู้ระเบียบวิธีวิจัยในการปฏิบัติการพยาบาล การผดุงครรภ์ และร่วมออกแบบหรือพัฒนานวัตกรรมการดูแลสุขภาพ
6. แสดงออกถึงการมีภาวะผู้นา และสามารถบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน
7. ใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสมและเป็นสากล
8. ใช้สื่อสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ที่เหมาะสมในการเรียนรู้และปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์
9. แสดงออกถึงการมีทักษะชวิต โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพอพัฒนาตนเอง วิชาชีพและสังคม
10. ประยุกต์แนวคิดการเป็นผู้ประกอบการด้านสุขภาพในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
9.ระบบการจัดการศึกษา :
9.1 ระบบ
ระบบการจัดการศกษาเป็นระบบทวิภาค
9.2 การจัดการศกษาภาคฤดูร้อน
การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน จัดเฉพาะในชั้นปีที่ 2 และ 3 ระยะเวลาการศึกษา เดือนมีนาคม -เดือนพฤษภาคม (จำนวน 8 สัปดาห์/ภาคการศึกษา)
9.3 การเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
10.คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติของผู้เข้าศกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับ/ระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
โครงสร้างหลักสูตร | ||
หลักสูตร : พยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2565 | ||
ระดับการศึกษา : ปริญญาตรี | ||
จำนวนหน่วยกิตที่เรียน : 124 หลักสูตร : 4 ปี จำนวนปีที่ศึกษาสูงสุด : 8 ปี | ||
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป , จำนวน 30 หน่วยกิต | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
GE 101 | ภาษาไทยเชิงวิชาการ | 3(2-2-5) |
GE 102 | ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร | 3(2-2-5) |
GE 103 | ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ | 3(2-2-5) |
GE 104 | ภาษาอังกฤษเพื่อการอ่านและการเขียนเชิงวิชาการ | 3(2-2-5) |
GE 105 | ภาษาอังกฤษก้าวหน้า | 3(2-2-5) |
GE 201 | เราคือ สบช. | 3(2-2-5) |
GE 209 | พลเมืองวิวัฒน์ | 3(2-2-5) |
GE 301 | ผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล | 3(2-2-5) |
GE 302 | การรู้ดิจิทัล | 3(2-2-5) |
GE 305 | วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน | 3(3-0-6) |
2. หมวดวิชาเฉพาะ , จำนวน 88 หน่วยกิต | ||
กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 17 หน่วยกิต | |
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
0118300101 | จุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา | 2(2-0-4) |
0118300102 | กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา | 3(2-2-5) |
0118300103 | ชีวเคมีและโภชนศาสตร์ | 3(3-0-6) |
0118300104 | จิตวิทยาพัฒนาการและกระบวนการคิด | 2(1-2-3) |
0118300205 | เภสัชวิทยา | 2(2-0-4) |
0118300206 | พยาธิสรีรวิทยา | 3(3-0-6) |
0118300207 | กฎหมาย จริยศาสตร์และจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาล | 2(2-0-4) |
กลุ่มวิชาชีพ | 71 หน่วยกิต | |
0118300208 | มโนมติ ทฤษฎี และกระบวนการพยาบาล | 2(1-2-3) |
0118300209 | การพยาบาลขั้นพื้นฐาน | 3(2-2-5) |
0118300210 | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 | 3(2-2-5) |
0118300211 | การพยาบาลผู้สูงอายุ | 2(1-2-3) |
0118300212 | การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น | 3(2-2-5) |
0118300313 | การพยาบาลสุขภาพชุมชน | 2(1-2-3) |
0118300314 | การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 | 2(1-2-3) |
0118300315 | วิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล | 3(1-4-4) |
0118300316 | การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 1 | 3(2-2-5) |
0118300317 | การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | 3(2-2-5) |
0118300418 | การพยาบาลมารดา ทารก และการผดุงครรภ์ 2 | 3(3-0-6) |
0118300419 | การพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน | 2(1-2-3) |
0118300420 | การรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล | 2(1-2-3) |
0118300421 | การบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล | 2(1-2-3) |
0118300222 | ปฏิบัติการพยาบาลขั้นพื้นฐาน | 4(0-12-4) |
0118300223 | ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 | 3(0-9-3) |
0118300224 | ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 1 | 2(0-6-2) |
0118300325 | ปฏิบัติการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น 2 | 2(0-6-2) |
0118300326 | ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพชุมชน | 3(0-9-3) |
0118300327 | ปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 2 | 3(0-9-3) |
0118300328 | ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ | 2(0-6-2) |
0118300329 | ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1 | 3(0-9-3) |
0118300330 | ปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช | 3(0-9-3) |
0118300431 | ปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 2 | 3(0-9-3) |
0118300432 | ปฏิบัติการพยาบาลและการบริหารจัดการสุขภาวะชุมชน | 3(0-9-3) |
0118300433 | ปฏิบัติการรักษาโรคเบื้องต้นสำหรับพยาบาล | 3(0-9-3) |
0118300434 | ปฏิบัติการบริหารและการจัดการคุณภาพทางการพยาบาล | 2(0-6-2) |
3. หมวดวิชาเลือกเสรี , จำนวน 6 หน่วยกิต | ||
รหัสวิชา | รายวิชา | หน่วยกิต |
0118300035 | การพัฒนาบุคลิกภาพและวุฒิภาวะทางอารมณ์ | 2(2-0-4) |
0118300036 | พืชสมุนไพร | 2(2-0-4) |
0118300037 | ภูมิปัญญาไทยกับการดูแลสุขภาพ | 2(2-0-4) |
0118300038 | การศึกษาอิสระ | 2(0-4-2) |
0118300039 | การออกกำลังกายเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ | 2(1-2-3) |
0118300040 | ภาษาจีนในชีวิตประจำวัน | 2(1-2-3) |
0118300041 | ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในวิถีชีวิตใหม่ | 2(2-0-4) |
0118300042 | พลวัตในกลุ่มและการทำงานเป็นทีม | 2(1-2-3) |
0118300043 | สุนทรียศาสตร์ | 2(2-0-4) |