วัตถุประสงค์
2. พัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการด้านสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
4. ให้บริการวิชาการแก่สังคมที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
5. ธำรงรักษา ส่งเสริม ศิลปะ วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น
อัตลักษณ์บัณฑิต
“บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์” หมายถึง การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรัก ความเมตตา ใส่ใจในปัญหา ความทุกข์ของผู้รับบริการและผู้เกี่ยวข้อง ให้บริการตามปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการที่เป็น จริง โดยรับฟังความคิดเห็นของผู้รับบริการเป็นหลัก การให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ได้นั้นจะต้องมี องค์ประกอบหลักสามส่วน คือ การมีจิตบริการ (Service mind) การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical thinking) และการมี ส่วนร่วมของผู้รับบริการ (Participation) ซึ่งมีความหมาย ดังต่อไปนี้
จิตบริการ (Service mind)
หมายถึง การให้บริการที่เป็นมิตร มีความรักความเมตตา ใส่ใจในความทุกข์ที่เป็นปัญหาของ ผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมที่จะให้บริการโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน วางใจเป็น กลางในการให้บริการ โดยคำนึงถึงความเป็นเหตุเป็นผลบนพื้นฐานของความเข้าใจคนอื่นตามความเป็นจริง ซึ่งมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ให้บริการด้วยความเต็มใจโดยเข้าใจผู้อื่นตามเงื่อนไขที่เฉพาะของบุคคลนั้นๆ ยอมรับใน ความคิด พฤติกรรม และความเป็นตัวตนของผู้รับบริการ ไม่เอาความคิดของตนเองไปตัดสิน
2. ให้บริการ หรือกระทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และเห็นประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าส่วนตน
3. ให้บริการตามปัญหา และความต้องการของผู้รับบริการ ที่สอดคล้องกับบริบท และสภาพ จริงของผู้รับบริการ ด้วยความใส่ใจในปัญหา ความทุกข์ของผู้รับบริการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
ความคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
การคิดที่อยู่บนฐานของการมีข้อมูลที่หลากหลาย ตามสภาพความเป็นจริง เพื่อเป็นการ วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการอย่างมีวิจารณญาณ โดยเชื่อมโยงความรู้เข้าสู่การ แก้ปัญหาของผู้รับบริการที่สอดคล้องกับบริบทสภาพการดำรงชีวิต โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. มองความจริงตามความเป็นจริงของโลก ของชีวิต เพื่อประเมินสภาพการณ์ตามความจริง
2. รวบรวมข้อมูลที่เป็นจริงอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการคิด
3. วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการบนฐานข้อมูลจริงของผู้รับบริการ
4. เชื่อมโยงความรู้วิชาการเข้าสู่การแก้ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้รับบริการ โดย สอดคล้องกับบริบท
5. สามารถวางแผนให้บริการสุภาพได้อย่างสอดคล้องกับบริบทชีวิตจริง
6. พัฒนาตนเองโดยไม่ยึดติดกับกรอบแนวคิด หรือความรู้วิชาการ หรือประสบการณ์ของ ตนเองเพียงอย่างเดียว
การมีส่วนร่วมของผู้รับบริการ (Participation)
เป็นการให้บริการสุขภาพที่คำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล ซึ่ง เกิดจากความเข้าใจ สภาพ การดำรงชีวิต บริบท เงื่อนไข ศักยภาพ ความสามารถ ที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้รับบริการ ทั้งนี้ ผู้ให้บริการสามารถกลั่นกรอง คัดเลือกความรู้ที่เหมาะสมและเสนอเป็นทางเลือก เพื่อให้ผู้รับบริการนำไป ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง โดยให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมรับรู้ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านสุขภาพได้ โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้
1. ผู้ให้บริการต้องให้บริการที่ตรงกับปัญหา และความต้องการของผู้รับบริการ
2. ให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล ร่วมรับรู้ ร่วมคิด และร่วมตัดสินใจในการดูแล สุขภาพของตนเองและครอบครัว
3. ผู้ให้บริการทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน กระตุ้น เสนอทางเลือกหรือพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสม ในการแก้ปัญหา แก่ผู้รับบริการ แต่มิใช่เป็นผู้กำหนดวิธีการแก้ปัญหาของประชาชน